โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
เกิดจากไขมันและพังผืดสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดมีการตีบแคบลง ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ในขณะที่การอุดตันของหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันเกิดจากคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในแตกออก และกลายเป็นลิ่มเลือดลอยไปอุดหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
ภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
|
อาการบ่งชี้โรคหลอดเลือดหัวใจ
|
หากมีอาการต้องสงสัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบควรทำอย่างไร
ปรึกษาแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย และพิจารณาเลือกการตรวจพิเศษให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละบุคคล เช่น
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
- การถ่ายภาพรังสีของทรวงอก (chest X-ray)
- การตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด (cardiac biomarker)
- การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (exercise stress test)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)
- การตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomographic angiography)
- การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (cardiac catheterization or coronary angiogram)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด
โทร. 0 2265 7777
[คะแนนบทความนี้: 2.7]