กรวยไตอักเสบ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

196829

this content porn xxx

กรวยไตอักเสบ อาจดูเป็นโรคที่ไกลตัวนะคะ แต่หารู้ไม่การเกิดขึ้นของโรคนี้อาจจะเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตของเราได้ด้วยโดยเฉพาะกับผู้หญิง ว่าแต่กรวยไตอักเสบคืออะไร เกิดจากอะไร กลุ่มเสี่ยงเป็นใครบ้าง อาการและวิธีการรักษาเป็นแบบไหน วันนี้เรามีข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากค่ะ

กรวยไตอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเชื้อที่พบบ่อยคือ E.coli โดยสาเหตุที่ทำให้กรวยไตติดเชื้อ ได้แก่ มีการติดเชื้อที่ส่วนอื่น ๆ ของทางเดินปัสสาวะอยู่แล้ว เช่น มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคกระเพาปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น ซึ่งสามารถอาจเป็นได้ทั้งกรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน หรือกรวยไตอักเสบแบบเรื้อรังได้ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอาการทีพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะเสียชีวิตได้

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดกรวยไตอักเสบ มีใครบ้าง?

  • ผู้หญิงเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่า และอยู่ใกล้ช่องคลอดกับทวารหนัก
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น ทำให้ความดันในท่อไตสูงขึ้นจนอาจเกิดกรวยไตอุดตันและมีการติดเชื้อได้
  • ผู้ที่เคยได้รับการส่องกล้องหรือเคยรับการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้ที่กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ และดื่มน้ำน้อย ทำให้มีปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ
  • ผู้ที่เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนอื่นๆ เช่น ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ อาจเกิดการติดเชื้อลุกลามมายังกรวยไตได้
  • ผู้ที่มีระบบทางเดินปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น ผู้ที่มีนิ่วในไต ระบบทางเดินปัสสาวะตีบ เป็นต้น

อาการของกรวยไตอักเสบ
ผู้ป่วยโรคกรวยไตอักเสบจะมีอาการหนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง อาเจียน มีอาการปวดบริเวณสีข้างหรือบั้นเอวขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยจะปวดมากที่ข้างใดข้างหนึ่ง ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น มีเลือดหรือหนองปนมากับปัสสาวะ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาทางรักษา

การรักษากรวยไตอักเสบ

  • ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนเสมอ และไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเอง การจะรักษาโรคต้องขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อายุผู้ป่วย ชนิดและขนาดของยาปฏิชีวนะ ซึ่งต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
  • แพทย์จะตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ เพื่อดูค่าเม็ดเลือดขาวที่บ่งถึงการอักเสบได้ รวมทั้งตรวจหาการติดเชื้อ
  • การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ยาไซโพรฟล็อกซาซิน ซัลฟาเมท็อกซาโซล ไทรเมโทพริม เป็นต้น
  • การรักษาในโรงพยาบาล หากรักษาด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยมีภาวะไตติดเชื้อรุนแรง แพทย์อาจต้องฉีดยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ร่วมกับการให้น้ำเกลือและยาแก้ปวดลดไข้ ติดตามอาการโดยตรวจปัสสาวะและเลือดอย่างต่อเนื่อง

การป้องกันกรวยไตอักเสบ

  • ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อให้มีปริมาณปัสสาวะมากพอจะขับของเสียออก
  • ไม่กลั้นปัสสาวะ และปัสสาวะทันทีเมื่อรู้สึกปวด
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกโรคไตและไตเทียม

โทร. 0 2265 7777 

ให้คะแนนบทความนี้
[คะแนนบทความนี้: 2.6]
เรายึดมั่นในหลักการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการดูแลและติดตามผลการรักษาจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด