
อันตรายจากสารเคมีเข้าตาเป็นเรื่องที่พบกันได้อยู่เสมอ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ ยาฆ่าแมลง น้ำกรดในแบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น จึงมีโอกาสที่สารเคมีอาจพลาดพลั้งกระเด็นเข้าตาได้ และเมื่อสารเคมีเข้าตาแล้วนั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายกับดวงตามากน้อยแค่ไหนและวิธีการรักษาจะเป็นอย่างไร เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ
ภาวะสารเคมีเข้าตา เป็นภาวะฉุกเฉินทางตาที่สำคัญ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจก่อให้เกิดการทำลายต่อเนื้อเยื่อที่ตาอย่างรุนแรงและถาวรได้ โดยความรุนแรงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
- ความเป็นด่างหรือกรด โดยด่างจะมีความรุนแรงมากกว่ากรด เนื่องจากด่างจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาคล้ายการเกิดสบู่ที่เซลล์ผิว ทำให้ผิวเซลล์แตกด่างจึงแทรกซึมเข้าไปในตาได้ดีขณะที่กรดจะทำปฏิกิริยากับโปรตีนที่เซลล์ ก่อให้เกิดการตกตะกอน ซึ่งจะช่วยป้องกันการแทรกซึมของกรดได้
- ชนิดของด่างหรือกรด
3. ความเข้มข้นของด่างหรือกรด หากมีความเข้มข้นสูงจะก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น
อาการและอาการแสดง
ปวดแสบปวดร้อนที่ตาและผิวหนังบริเวณที่สัมผัส แสบตา เคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล ตามัวลง
การตรวจตาจะพบว่ามีความผิดปกติ ดังนี้
- เปลือกตา : บวม แดง แผลถลอก หลับตาไม่สนิท
- เยื่อบุตา : บวม แดง มีเลือดออกใต้เยื่อบุตา มีสิ่งแปลกปลอมที่เยื่อบุตา
- กระจกตา : แผลถลอก ขุ่น มีสิ่งแปลกปลอมที่กระจกตา
- ขอบกระจกตา : ขอบกระจกตา แสดงถึงภาวะขอบกระจกตาขาดเลือด
- ช่องหน้าลูกตา : ขุ่น มีเลือดออก มีเซลล์อักเสบ
- เลนส์ตา : ต้อกระจก
การรักษา
- ควรล้างตาทันทีด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากก่อนมาโรงพยาบาล
- เมื่อพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉิน แพทย์จะหยอดยาชาที่ตา ใส่เครื่องถ่างตา และล้างตาด้วยน้ำเกลือ ปริมาณน้ำเกลือขึ้นอยู่กับชนิดสารเคมีและระยะเวลาสัมผัสสารเคมี
- หากมีเศษสิ่งแปลกปลอม แพทย์จะหยิบออกจากตา
- ห้ามนำสารละลายกรดมา neutralize ด่างหรือนำสารละลายด่างมา neutralize กรด เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นจะเกิดอันตรายต่อกระจกตา
- รอประมาณ 5-10 นาทีหลังจากล้างตา ใช้กระดาษลิตมัสแตะบริเวณกระพุ้งตา เพื่อวัดค่า pH โดยควรจะล้างตาจนกว่า pH จะเป็นกลาง คือประมาณ 3-7.7
- ให้ยาหยอดลดการอักเสบ
- ให้ยาหยอดฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ให้ยาหยอดน้ำตาเทียมแบบไม่มีสารกันเสีย เพื่อช่วยสมานผิวกระจกตา
- หากมีแผลถลอกใหญ่ อาจต้องปิดตาแน่น หรือใส่ contact lens เพื่อช่วยสมานผิวกระจกตา
- ให้ยาแก้ปวด
- ให้วิตามินซี 1-2 กรัมต่อวัน เพื่อเพิ่มการสร้างคอลลาเจน ลดการติดเชื้อและกระจกตาทะลุ
- แพทย์จะนัดติดตามอาการทางตาทุกวันจนกว่าผิวกระจกตาจะปิดสนิท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์โรคตา
โทร. 0 2265 7777
[คะแนนบทความนี้: 0]