ผู้สูงอายุมักมีพฤติกรรมการนอนหลับที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น นอนดึกตื่นเช้า นอนกลางวันตื่นตอนกลางคืน หรือในบางรายไม่ยอมเข้านอน พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นตามช่วงวัย แต่อาจทำให้ส่งผลต่อร่างกายได้หลายอย่าง ดังนั้นระยะเวลาการนอนของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนในครอบครัวควรสังเกตและไม่ควรละเลย วันนี้เรามีข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีแก้ไขในเรื่องของการนอนหลับในผู้สูงอายุมาฝากค่ะ
สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
- ไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังกายสร้างความสุขทางใจในตอนกลางวัน ร่างกายจึงไม่เหนื่อยพอที่จะต้องพักและนอนในตอนกลางคืน
- งีบหลับบ่อยในตอนกลางวัน แม้แต่การนั่งดูทีวี ทำให้ร่างกายพักบ่อย ๆ ดังนั้นพอถึงเวลากลางคืนจึงนอนไม่ค่อยหลับ
- ปัญหาทางจิตใจที่เชื่อมโยงกับร่างกาย ความวิตกกังวล เคร่งเครียด ทำให้หลับยากหรือทำให้การนอนหลับไม่มีประสิทธิภาพ
- มีปัญหาเรื่องโรคที่ทำให้หลับลำบาก เช่น โรคทางระบบทางเดินหายใจที่ทำให้ไอตลอดเวลา โรคทางเดินอาหารเมื่อทานอาหารแล้วท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุก เสียดท้อง หรือโรคข้อต่าง ๆ สร้างปัญหาทำให้ไม่มีความสุขในการนอน
- ดื่มน้ำก่อนนอนมากเกินไป หรือเกิดโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ผู้สูงอายุชายมีโรคต่อมลูกหมากโต จึงมีความจำเป็นต้องดื่มน้ำในปริมาณมาก และทำให้ปัสสาวะบ่อย
วิธีการแก้ไข
- สาเหตุจากโรคทางกายและโรคทางจิตใจที่ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับต้องแก้ไขโรคจากต้นเหตุ โดยปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ โดยตรง
- สาเหตุที่เกิดจากทางจิตใจ ควรใช้ศาสนาเข้าช่วยแก้ไขโดยการทำสมาธิ วิปัสสนา ผู้ปฏิบัติธรรมมักมีปัญหาในเรื่องการหลับนอนน้อย แต่ความง่วงกลับเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมเสียมากกว่าและถึงแม้ว่าผู้สูงอายุที่มีการนอนหลับปกติก็ควรได้ฝึกปฏิบัติเช่นกัน
[คะแนนบทความนี้: 2.8]