
หลังจากที่เราจำเป็นต้อง Work from home กันมาอย่างยาวนานเกือบ 2 ปี หลายๆคนคงสังเกตว่าการอยู่บ้านเพื่อประชุมออนไลน์กลับทำให้เรารู้สึกอ่อนล้ามากกว่าการต้องเดินทางไปทำงานเสียอีก ทำไมเราจึงรู้สึกเช่นนั้น วันนี้หมอจึงอยากให้ทุกคนรู้จักกับภาวะ Zoom Fatigue
คือ ภาวะเหนื่อยล้าที่เกิดจากการประชุมออนไลน์ โดยทาง ได้หยิบยกชื่อแพตฟอร์ม video call meeting ชื่อดังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาวะนี้ จนเกิดประโยคฮิตติดปากว่า “ Zoom Fatigue is REAL”
เราลองมาเช็คจากคำถาม 5 ข้อนี้กันค่ะ
- คุณรู้สึกเหนื่อยล้ามากหลังจากการประชุมออนไลน์
- คุณรู้สึกปวดตา เคืองตา หรือตาล้ามากหลังจากประชุมออนไลน์
- คุณหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนหลังจากประชุมออนไลน์
- คุณรู้สึกเหนื่อยแบบหมดแรงหลังจากประชุมออนไลน์
- คุณรู้สึกเหนื่อยล้ามากที่จะทำกิจกรรมอื่นๆหลังจากประชุมออนไลน์
หากตอบว่า ใช่ มากกว่า 2 ใน 5 ข้อ แปลว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะ แล้วค่ะ
โดยทาง Stanford Virtual Human Interaction Lab (VHIL) ได้รวบรวม 4 สาเหตุ ที่อธิบายว่า ทำไมนั่ง Video call meeting นานๆแล้วทำให้เกิดการเหนื่อยล้าได้
1. การใช้สายตาที่มากจนเกินไป
- ใช้สายตาจ้องผู้สนทนามากจนเกินไป
- ขนาดใบหน้าของผู้ร่วมสนทนาที่เล็กมากกว่าปกติ
- ในการประชุมปกติ เราจะมีการพักสายตาโดยการเปลี่ยนจุดจ้องมองเป็นระยะ เช่น มองผู้พูด แล้วเปลี่ยนมาจดบันทึก แต่ขณะที่เราประชุมออนไลน์นั้น เราจะจ้องมองผู้ร่วมประชุมอื่นๆอยู่ตลอดเวลา รวมถึงจ้องมองตัวเองในหน้าจอด้วย!
- ระยะห่างหน้าจอก็เป็นสิ่งสำคัญ ในชีวิตปกติ หากมียื่นหน้าเข้ามาหาเราใกล้ สมองเราจะเข้าสู่ภาวะตื่นตัว ซึ่งหมายความว่า
- การประชุมออนไลน์หลายๆชั่วโมง ทำให้สมองของเราอยู่ในภาวะตื่นตัวตลอดเวลา
2. การมองเห็นใบหน้าตนเองมากเกินไป
- ใช่แล้วค่ะ อ่านไม่ผิด เนื่องจากในชีวิตปกติ คนเราจะไม่ได้มีกระจกเป็นเงาสะท้อนให้เราเห็นถึงทุกปฏิกิริยาของตนเองต่อการแสดงออก การพูด หรือการตัดสินใจ
- มีการศึกษาพบว่า การมองเห็นตัวเองในกระจกเป็นภาพสะท้อนตลอดเวลา จะทำให้เกิดความเครียด และจับผิดพฤติกรรมของตนเอง
3. การประชุมออนไลน์ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลดลง
- ปกติแล้วการประชุมมักจะมีการเคลื่อนไหวทางกาย เช่น การเดิน การขยับร่างกาย ซึ่งมีส่วนทำให้สมองเราสามารถคิดวิเคราะห์ได้มากขึ้น แต่การประชุมออนไลน์ทำให้เราต้องนั่งอยู่ซึ่งผิดธรรมชาติ สมองไม่โลดแล่น
4. เพิ่มภาระการรับรู้และความเข้าใจ (Cognitive load)
- ในชีวิตปกติระหว่างการสนทนา เราจะเข้าใจและเลือกใช้ภาษากายได้อย่างเป็นธรรมชาติ แต่เมื่อเราประชุมออนไลน์เราอาจจะแสดงภาษากายอยู่ต้องเวลาเพื่อให้คู่สนทนาเราเข้าใจ เช่น พยักหน้ามากกว่าปกติ หรือ ยกหัวโป้ง (Thumb up!) เพื่อแสดงความเห็นด้วย
นอกจากนี้ทาง Microsoft’s Human Factors Lab ยังได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าการพักระหว่างการประชุมเป็นสิ่งสำคัญ โดยการศึกษาได้ในอาสาสมัครทั้ง 14 สวมหมวกที่สามารถวัดคลื่นไฟฟ้าสมองได้ระหว่างการทำงาน โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 แบบ คือ วันที่ 1 ให้อาสาสมัครประชุมงานยาว 4 การประชุม เป็นเวลา 4 ชั่วโมงติดต่อกัน และวันที่ 2 ให้อาสาสมัครประชุมงาน 4 การประชุมเช่นกันแต่มีเวลาพัก 10 นาทีระหว่างการประชุม
การศึกษาพบว่า อาสาสมัครคนเดียวกันจะพบคลื่นไฟฟ้าสมองที่แสดงถึงความเครียดมากกว่าในวันที่ประชุมติดต่อกัน 4 ชั่วโมง นอกจากนี้การศึกษายังพบว่า การพักระหว่างการประชุม ทำให้อาสาสมัครสามารถโฟกัสและมีส่วนร่วมในการประชุมมากขึ้นอีกด้วย
4 ทริคง่ายๆ ช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าจาก
1. กำหนดเวลาของประชุมให้เหมาะสม
- ควรกำหนดเวลาการประชุมให้ชัดเจน โดยระยะไม่ควรเกิน 60 นาทีในแต่ละการประชุม
- มีการศึกษาพบว่าการประชุมที่น้อยกว่า 30 นาที สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการประชุมได้
2. มีเวลาพักเบรกระหว่างการประชุมแต่ละการประชุมอย่างน้อย 10 นาที
- การพักเบรกทำให้สมองได้พัก และเพิ่มประสิทธิภาพของการประชุมครั้งถัดไปได้
3. ขณะประชุมให้ซ่อนใบหน้าตัว(บ้าง)
- การมองเห็นใบหน้าตัวเองตลอดเวลาเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ ทำให้เกิดความเครียดและเกิดการจับผิดตัวเองมากขึ้น
- จัดการประชุมแบบใช้เสียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องเห็นหน้า (Audio only!) เพื่อให้สมองได้ลดความเครียดจากการที่ถูกทุกคนจ้องตลอดเวลา
4. ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแทนโน้ตบุ๊คหรือแล๊ปท๊อป หรือฉายหน้าจอการประชุมขึ้นบนโทรทัศน์
- เพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างตัวเราและหน้าจอ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้นระหว่างประชุม และทำให้สมองไม่รู้สึกถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา
นอกจากจะใช้กับการประชุมออนไลน์แล้ว แม่ๆยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลูกที่เรียนออนไลน์ได้ด้วยนะค่า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกโรคทางระบบประสาท
โทร. 0 2265 7777