การปฏิบัติตนเมื่อมีภาวะคัดนม และเทคนิคการบีบ-เก็บน้ำนมด้วยมือ

10836

this content porn xxx

คัดนม เมื่อมีการสร้างน้ำนมภายในเต้านมของคุณแม่ รวมทั้งปริมาณของเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณเต้านมมากขึ้น  คุณแม่จะสังเกตว่า   เต้านมขยายใหญ่ขึ้น  จะรู้สึกร้อนเจ็บและคัดตึงที่เต้านม บางท่านมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางท่านคัดมากจนปวดและเป็นก้อนแข็ง เต้านมที่คัดอาจทำให้หัวนมแบนราบและลานนมแข็งจนลูกดูดได้ยาก

มีวิธีช่วยเหลือดังนี้ค่ะ

  1. ประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นจัดๆนาน 5 นาทีก่อนที่จะให้นมลูก อาจนวดหรือคลึงบริเวณเต้านมเบาๆเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
  2. อาจบีบน้ำนมออกบ้าง เพื่อให้ลานนมนิ่มพอที่ลูกจะดูดได้ง่าย
  3. ให้ลูกดูดบ่อยๆ เพื่อระบายน้ำนมออก แต่หากลูกไม่สามารถ  ดูดได้ ให้บีบน้ำนมออก  โดยใช้มือหรือใช้เครื่องปั๊มนม ให้พอทุเลาอาการ
  4. หลังให้ลูกดูดหรือบีบออกแล้วหากยังคัดอาจใช้การประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็น
  5. ควรสวมเสื้อยกทรงที่กระชับพอดีเต้านมเพื่อพยุงเต้านมไว้ตลอดเวลา
  6. หากปวดมาก อาจรับประทานยาแก้ปวดได้
  7. หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
คุณแม่ที่มีนมคัดบางครั้งมีไข้ต่ำๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
ซึ่งอาการนี้เรียกว่า ไข้จากน้ำนม (Milk Fever) สาเหตุอาจเกิดจากสารในน้ำนมซึมผ่านเข้าไปในกระแสเลือดแม่ โดยปกติอาการไข้ที่เกิดขึ้นจะหายได้เอง
แต่ถ้ามีไข้สูงและนานกว่า 48 ชั่วโมง
แสดงว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

การบีบน้ำนมและเก็บน้ำนม
การบีบน้ำนมโดยใช้มือเป็นวิธีที่สะดวกไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ   จึงสามารถทำได้ทุกแห่งทุกเวลา

การบีบน้ำนมเพื่อเหตุผล ดังนี้

  1. เพื่อให้ลูกได้นมแม่ระหว่างที่แม่และลูกต้องแยกกัน เช่น ลูกป่วย ลูกตัวเล็กมากยังดูดนมไม่เก่งหรือเมื่อคุณแม่ต้องไปทำงาน
  2. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม เพราะยิ่งมีการบีบออกมาก ร่างกายก็สร้างน้ำนมมาทดแทนมากขึ้น
  3. เพื่อป้องกันและลดภาวะคัดตึงเต้านม

วิธีปฏิบัติ

  1. ล้างมือให้สะอาด
  2. ถ้าเป็นไปได้ ควรบีบน้ำนมในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ  ผ่อนคลาย จะทำให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
  3. อาจประคบด้วยน้ำอุ่น 5 นาที ก่อนบีบนม
  4. อาจนวดหรือคลึงบริเวณเต้านมเบาๆด้วยนิ้วมือ โดยเริ่มจากด้านนอกวนเข้าหาหัวนม
  5. วางนิ้วหัวแม่มือบนขอบนอกของลานนม นิ้วชี้อยู่ตรงข้ามกับนิ้วหัวแม่มือ โดยให้ลานนมและหัวนมอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ส่วนนิ้วอื่นๆประคองเต้านมไว้
  6. กดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหาผนังหน้าอก แล้วบีบนิ้วทั้ง 2 เข้าหากัน บีบแล้วปล่อยหลายๆครั้ง ในตอนแรกน้ำนมอาจจะยังไม่ออก แต่ต่อมาถ้าบีบต่ออีก 2-3 นาที น้ำนมจะเริ่มหยดออกมา
  7. หาภาชนะที่สะอาดรองรับ เช่น ขวดนมที่ต้มฆ่าเชื้อแล้ว
  8. ให้บีบน้ำนมออกจนเกลี้ยงเต้าทั้ง 2 เต้า
  9. ไม่ควรใช้นิ้วรูดไปตามผิวหนังบริเวณเต้านมเพราะจะทำให้ผิวหนังระคายเคืองถลอก และไม่ควรกดหรือบีบหัวนม เพราะน้ำนมจะไม่ออก และยังอาจทำให้หัวนมถลอกแตกเป็นแผลได้
  10. หลังบีบน้ำนมลงในขวด ปิดฝาขวดให้มิดชิด อาจแบ่งเก็บในปริมาณที่เด็กต้องการใน 1 มื้อ ปิดป้ายบอกวันและเวลาที่บีบ
  11. นมแม่สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องมากกว่า 25องศาเซลเซียสได้นาน1ชั่วโมง หรือห้องที่น้อยกว่า 25 องศาเซลเซียส ได้นาน 4 ชั่วโมง และสามารถเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ 3-5 วัน  ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นประตูเดียวได้ 2 สัปดาห์ และ 3 เดือนในช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู

หน่วยทารกแรกเกิด ชั้น 18 อาคารศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ

ให้คะแนนบทความนี้
[คะแนนบทความนี้: 2.2]
เรายึดมั่นในหลักการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการดูแลและติดตามผลการรักษาจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด