
คงมีใครหลาย ๆ คนที่ดื่มนมตอนท้องว่างแล้วมีอาการท้องเสีย จนเลิกดื่มนมไปเลยก็มี แต่ก็มีผลเสียคือทำให้ขาดการดื่มนม ร่างกายไม่ได้รับจำนวนแคลเซียมอย่างเพียงพอ ซึ่งปัญหาการดื่มนมแล้วท้องเสียนี้พบได้บ่อยพอสมควร ว่าแต่ดื่มนมแล้วมีอาการแบบนี้เกิดจากสาเหตุใด หรือเป็นเพราะนมที่ดื่มไปหรือไม่ วันนี้เรามีสาระสุขภาพเกี่ยวกับเรื่องนี้มาบอกเล่าไว้เป็นข้อมูลค่ะ
“ไม่จริง” คนไทย คนแถบเอเซียและคนแถบแอฟริกานั้นจะมีน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแลตโตสตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 4-5 ปี พอพ้นจากช่วงอายุนี้ไป น้ำย่อยนี้จะลดน้อยลงจนหมดไป ไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแลตโตสที่มีในนมวัว ดังนั้นแบคทีเรียในทางเดินอาหารจึงใช้น้ำตาลนี้ เมื่อย่อยแล้วเกิดเป็นกรดและแก๊สทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง ผายลม และมีอาการท้องเดินได้ในคนที่มีอาการรุนแรง เมื่อพบปัญหานี้ ท้องเสีย จุกเสียด แน่นท้อง ทุกครั้งที่ดื่มนม เริ่มต้นดื่มนมในปริมาณน้อย เช่น อาจเริ่มต้น ¼ แก้ว ½ แก้ว แล้วค่อย ๆ เพิ่มจนดื่มได้วันละ 1 แก้ว คงใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ กว่าจะปรับตัวได้ แต่ต้องอดทนถ้ามีอาการไม่มาก ควรดื่มนมหลังอาหารหรือหาอะไรกินขณะดื่มนมจะช่วยได้มาก หรือหากไม่ชอบ ไม่อยากดื่มนม ก็อาจทานนมวัวที่อยู่ในรูปอื่น ๆ เช่น โยเกิร์ตชนิดครีมแทนได้