รู้ทันป้องกันไวรัส RSV

3025
www.makeporngreatagain.pro
olivia ass got drilled. yeahporn.top
www.pornforbuddy.com

this content porn xxx

RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นสาเหตุที่พบได้อันดับต้น ๆ ของหลอดลมฝอยอักเสบ (bronchiolitis) ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี พบระบาดในช่วงฤดูฝน ในเด็กโตจะพบว่าโอกาสเป็นน้อยลง แต่ก็ยังสามารถเป็นได้และเด็กคนหนึ่งสามารถติดเชื้อ RSV ได้หลายๆ ครั้ง แต่อาการอาจจะไม่มากเหมือนในครั้งแรก จะมีอาการแค่คล้ายๆ เป็นหวัด ระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อจนมีอาการนานประมาณ 4 ถึง 6 วัน ทางเข้าของเชื้อได้แก่ การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยเข้าสู่ตาจมูกหรือปาก โดยอาจจะเป็นจากการไอจามโดยตรงหรือ น้ำมูกละอองเสมหะที่ติดอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ ซึ่งเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ได้นานเมื่อไปจับสัมผัส แล้วเอามาป้ายตาจมูกปากก็ทำให้เด็กมีการติดเชื้อจากเด็กคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ ซึ่งโอกาสในการแพร่เชื้อสูงสุดจะอยู่ในช่วง 2 ถึง 3 วันแรกนับตั้งแต่ป่วย แต่ก็สามารถแพร่เชื้อได้นาน 2 ถึง 3 สัปดาห์

เด็กจะมีอาการคือ มีน้ำมูกใส ไอแห้ง ไข้ต่ำ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ซึ่งอาการอาจจะมากขึ้น คือลุกลามจากระบบหายใจส่วนบนลงไปส่วนล่าง ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีอาการ ไข้สูง ไอมีเสมหะ มีหลอดลมฝอยอักเสบ ปอดอักเสบ ไอมาก มีการตีบแคบของหลอดลมทำให้หายใจหอบเหนื่อยสังเกตได้จากผู้ป่วยจะหายใจเร็วตื้นหรือหายใจลำบาก เหนื่อยอ่อนเพลีย กินอาหารและน้ำได้น้อย หรืออาจจะกระวนกระวายร้องกวน อันเนื่องมาจากภาวะไข้ ขาดน้ำ หอบเหนื่อยหรือการที่มีเสมหะจำนวนมากทำให้เด็กนอนไม่ได้ ดูดนมไม่ได้ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่เมื่อติดเชื้อ RSV แล้วจะมีอาการมากได้แก่ เด็กทารกคลอดก่อนกำหนด ผู้ป่วยที่มีโรคปอดหรือหัวใจเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทารกอายุน้อยกว่า 3 เดือน ผู้ป่วยดังต่อไปนี้อาจจะต้องรับไว้ในโรงพยาบาล ได้แก่ มีภาวะหายใจลำบาก อ่อนเพลียมาก มีภาวะขาดออกซิเจน ซึ่งตรวจโดยการจับวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้ว

การวินิจฉัยจากประวัติและการตรวจร่างกาย การถ่ายภาพรังสีทรวงอกอาจจะไม่จำเป็นในทุกราย ยกเว้นในบางรายเช่นที่สงสัยว่าอาจมีติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน สงสัยว่ามีภาวะอื่นร่วมด้วยเช่น เสมหะอุดตัน มีปอดแฟบ ซึ่งต้องการการระบายเสมหะ เป็นต้น การตรวจทางห้องปฎิบัติการโดยการทำ Rapid antigen detection เป็นการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อซึ่งได้ผลเร็วมีประโยชน์คือช่วยให้การวินิจฉัยได้รวดเร็ว ทำให้ลดการส่งตรวจอื่นๆ ที่อาจไม่จำเป็น

การดูแลรักษา ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายที่ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล ถ้าอาการไม่มากดูแลที่บ้านได้ แต่ต้องมีผู้ปกครองดูแลใกล้ชิดและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ว่าต้องดูสังเกตอะไรบ้าง เช่นหายใจเร็วขึ้น หายใจแรงเหนื่อย มีหน้าอกบุ๋ม ปีกจมูกบานซึ่งแปลว่าผู้ป่วยต้องใช้แรงในการหารใจมากขึ้นนั่นเอง ปัสสาวะออกน้อยลง สังเกตได้จากไม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยเหมือนเดิมแสดงว่ามีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากเวลาหอบเด็กก็จะเสียน้ำออกไปด้วยและเหนื่อยเสมหะมากก็ไม่สามารถดูดนมน้ำได้ตามปกติ ดูอ่อนเพลีย หรือหากดูโดยรวมอาการไม่ดีขึ้นเลย จำเป็นจะต้องกลับไปตรวจซ้ำเพื่อให้แพทย์ประเมินอีกครั้ง อาจต้องรับไว้ในโรงพยาบาล หรือมีภาวะอื่นร่วม เช่นอาจจะมีติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้อาการไม่ดีขึ้น แม้จะพบเพียงแค่ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการดูแลที่บ้านได้แก่ การให้เด็กดื่มน้ำเพื่อไม่ให้ขาดสารน้ำ ให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เพื่อลดความเหนียวของเสมหะ ดูแลดูดน้ำมูก เสมหะ เพื่อให้หายใจโล่งจึงจะสามารถดูดนมน้ำและนอนได้ อาจให้เด็กนอนหัวสูงโดยหาวัสดุเพื่อหนุนให้เตียงทางด้านศีรษะสูงขึ้นเพื่อให้หายใจสะดวกขึ้น การให้ยาเพื่อหยอดเฉพาะที่ให้ลดจมูกบวมก็อาจช่วยให้เด็กนอนได้ได้ดีขึ้นและควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีบุหรี่เนื่องจากทำให้กลไกการกำจัดเสมหะผิดปกติไป ถ้ามีไข้ เช็ดตัวและให้ยาลดไข้ การรักษาในโรงพยาบาลโดยทั่วไปอาจจำเป็นต้องให้ออกซิเจนหากผู้ป่วยมีภาวะออกซิเจนต่ำกว่าปกติ การดูดน้ำมูกหรือดูดเสมหะในปากหากดูดนมไม่ได้กินอาหารไม่ได้ ถ้ามีลักษณะของภาวะ ขาดน้ำเช่นปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย และไม่สามารถดื่มน้ำได้ก็ต้องให้สารน้ำทางเส้นเลือด นอกจากนั้นเป็นการรักษาแบบประคับประคองทั่วไปเช่นเช็ดตัวและรับประทานยาลดไข้ การรักษา โดยให้พ่นฝอยละออง ยาขยายหลอดลม การให้สเตียรอยด์ ยาปฎิชีวนะ anti-leukotriene receptor antagonist ,adrenalin การพ่นฝอยละอองด้วยน้ำเกลือเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ หรือกายภาพบำบัดเพื่อจะระบายเสมหะ ไม่ได้จำเป็นในทุกราย อาจจะช่วยให้ได้ผลดีบางกรณีเท่านั้น แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม เช่นภาวะโรคเดิมที่สำคัญคือการประเมินการตอบสนองต่อการให้ยาแต่ละชนิด เช่นผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นจากการให้สเตียรอยด์ มักพบในกลุ่มที่มีภาวะของอาการในกลุ่มภูมิแพ้รวมอยู่ด้วย

ภายหลังจากที่ติดเชื้อ RSV ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะมีภาวะหลอดลมไวเมื่อถูกกระตุ้นด้วยการติดเชื้อหวัดครั้งต่อไปคือมีเสียงหวีด มีหลอดลมตีบที่ต้องการรักษาด้วยการใช้ยาขยายหลอดลมตามมาในอนาคตได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรสังเกตหลังจากเคยติดเชื้อ RSV ก็คือเมื่อมีการป่วยเป็นหวัดครั้งต่อไปถ้ามีอาการ ไอมาก ไอถี่ ให้ไปพบแพทย์และควรให้ประวัติว่าเคยติดเชื้อ RSV เมื่อใด แพทย์จะฟังเสียงปอดว่ามีลักษณะหลอดลมตีบต้องพ่นยาขยายหลอดลมหรือไม่ ถ้าเป็นซ้ำหลายๆ ครั้งก็อาจจะต้องพิจารณายาป้องกันหรือให้การรักษาในทางผู้ป่วยหลอดลมไวต่อการกระตุ้นต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกเด็ก ศูนย์พัฒนาการเด็ก
โทร. 0 2265 7777 

แพทย์ผู้เขียน

กุมารแพทย์ทางด้านระบบการหายใจและปอด

 

ให้คะแนนบทความนี้
[คะแนนบทความนี้: 3]