ผ่าตัดกระดูกคอเสื่อมด้วยกล้อง Microscope
อาการปวดคอร้าวลงแขน บางครั้งมีชาหรืออ่อนแรง อาจเกิดจากภาวะกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาท สาเหตุมาจากอายุที่สูงขึ้นร่วมกับพฤติกรรมที่ผิดสรีระ เช่น ก้มคอมองจอโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ หากรักษาด้วยการทานยา กายภาพบำบัดแล้วไม่ดีขึ้น การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกที่จะช่วยลดความปวดและคืนคุณภาพชีวิตให้กลับมาใกล้เคียงปกติได้
ภาวะกระดูกคอเสื่อมที่มีพยาธิสภาพร่วมกับระบบประสาท โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ การกดทับเส้นประสาท (Cervical Spondylotic Radiculopathy) และการกดทับไขสันหลัง (Cervical Spondylotic Myelopathy)
1. Cervical Spondylotic Radiculopathy (CSR) เป็นการกดทับบริเวณเส้นประสาท เนื่องจากมีการงอกตัวของกระดูก (osteophytes) หรือมีภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังที่บางลง (Disc narrowing) เนื่องจากความเสื่อมของกระดูกคอ ส่งผลให้รูที่อยู่ของเส้นประสาทแคบลง (foraminal stenosis) จึงเกิดการกดทับของเส้นประสาท ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดร้าวลงไหล่ สะบัก หรือแขน ร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรง โดยทั่วไปภาวะดังกล่าวควรเริ่มการรักษาด้วยการทานยาและกายภาพบำบัด แต่หากอาการไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาผ่าตัดรักษาลดการกดทับของเส้นประสาท
2. Cervical Spondylotic Myelopathy (CSM) เป็นภาวะที่มีการกดไขสันหลังอย่างเรื้อรัง (Spinal Cord Compression) ส่งผลให้เกิดความบกพร่องของระบบประสาท เช่น มีการสูญเสียความสมดุลขณะเดินหรือเดินเซ มือไม่สามารถทำงานที่ละเอียดได้ กล้ามเนื้อหดเกร็ง เป็นต้น การรักษาภาวะ CSM มักจะมีแนวโน้มไปทางผ่าตัดเพื่อลดการกดทับต่อไขสันหลังซึ่งเป็นศูนย์รวมระบบประสาทที่สำคัญของร่างกาย
การผ่าตัดเชื่อมกระดูกคอทางด้านหน้า (Anterior Cervical Discectomy and Fusion, ACDF) เป็นการผ่าตัดที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการรักษาภาวะกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาท (รายละเอียดการผ่าตัดรักษามีได้หลายวิธี ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงวิธี ACDF เท่านั้น)
เทคนิคการผ่าตัด
การผ่าตัด ACDF จะทำการเปิดแผลผ่าตัดทางด้านหน้าของคอ เข้าไปด้านหน้าต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ จากนั้นแพทย์จะทำการผ่าตัดลดการกดทับ (Decompression) ในจุดที่กดทับเส้นประสาท (Radiculopathy) หรือกดทับไขสันหลัง (Myelopathy) และใส่อุปกรณ์ดามกระดูกเข้าไปเชื่อมข้อทดแทน
ประโยชน์ของการผ่าตัด
• อาการเจ็บปวดและอาการปวดร้าวจะลดลง
กรณีของการกดทับไขสันหลัง (Myelopathy) เมื่อลดการกดทับ ไขสันหลังจะมีการฟื้นตัวส่งผลให้การทรงตัวอาจดีขึ้นได้
• หากมีอาการชาหรืออ่อนแรงจากการกดทับเส้นประสาท (Radiculopathy) อาการดังกล่าวอาจดีขึ้นกลับมาปกติหรือใกล้เคียงปกติได้
• นอนโรงพยาบาล เพียง 2-3 คืน และมีความเจ็บปวดจากการผ่าตัดน้อยมาก
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด
• กลืนลำบาก เสียงแหบ อาจพบในช่วงแรกภายหลังการผ่าตัด เนื่องจากมีการดึงรั้งหลอดอาหาร หลอดลม รวมถึงเส้นประสาทขณะผ่าตัด
• กระดูกไม่ติด ซึ่งความเสี่ยงนี้จะสูงขึ้นเมื่อผ่าตัดเชื่อมข้อหลายระดับ เช่น ผ่าตัดเชื่อมข้อ 3 ระดับก็จะมีความเสี่ยงกระดูกไม่ติดมากกว่าเชื่อมข้อ 1 ระดับ
• การเสื่อมสภาพของข้อที่อยู่ติดกับการเชื่อมข้อ (Adjacent Segment Disease) เมื่อเวลาผ่านไป ข้อกระดูกสันหลังที่อยู่ติดกับส่วนที่ผ่าตัดเชื่อมข้ออาจมีการเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
• ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดทั่วไป เช่น ติดเชื้อ ผลข้างเคียงจากยาดมสลบ
การผ่าตัด ACDF เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ผลดี สำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีทานยาหรือกายภาพบำบัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ภาวะกระดูกคอเสื่อมที่มีพยาธิสภาพร่วมกับระบบประสาท โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ การกดทับเส้นประสาท (Cervical Spondylotic Radiculopathy) และการกดทับไขสันหลัง (Cervical Spondylotic Myelopathy)
1. Cervical Spondylotic Radiculopathy (CSR) เป็นการกดทับบริเวณเส้นประสาท เนื่องจากมีการงอกตัวของกระดูก (osteophytes) หรือมีภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังที่บางลง (Disc narrowing) เนื่องจากความเสื่อมของกระดูกคอ ส่งผลให้รูที่อยู่ของเส้นประสาทแคบลง (foraminal stenosis) จึงเกิดการกดทับของเส้นประสาท ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดร้าวลงไหล่ สะบัก หรือแขน ร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรง โดยทั่วไปภาวะดังกล่าวควรเริ่มการรักษาด้วยการทานยาและกายภาพบำบัด แต่หากอาการไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาผ่าตัดรักษาลดการกดทับของเส้นประสาท
2. Cervical Spondylotic Myelopathy (CSM) เป็นภาวะที่มีการกดไขสันหลังอย่างเรื้อรัง (Spinal Cord Compression) ส่งผลให้เกิดความบกพร่องของระบบประสาท เช่น มีการสูญเสียความสมดุลขณะเดินหรือเดินเซ มือไม่สามารถทำงานที่ละเอียดได้ กล้ามเนื้อหดเกร็ง เป็นต้น การรักษาภาวะ CSM มักจะมีแนวโน้มไปทางผ่าตัดเพื่อลดการกดทับต่อไขสันหลังซึ่งเป็นศูนย์รวมระบบประสาทที่สำคัญของร่างกาย
การผ่าตัดเชื่อมกระดูกคอทางด้านหน้า (Anterior Cervical Discectomy and Fusion, ACDF) เป็นการผ่าตัดที่เป็นมาตรฐานและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในการรักษาภาวะกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาท (รายละเอียดการผ่าตัดรักษามีได้หลายวิธี ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงวิธี ACDF เท่านั้น)
เทคนิคการผ่าตัด
การผ่าตัด ACDF จะทำการเปิดแผลผ่าตัดทางด้านหน้าของคอ เข้าไปด้านหน้าต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ จากนั้นแพทย์จะทำการผ่าตัดลดการกดทับ (Decompression) ในจุดที่กดทับเส้นประสาท (Radiculopathy) หรือกดทับไขสันหลัง (Myelopathy) และใส่อุปกรณ์ดามกระดูกเข้าไปเชื่อมข้อทดแทน
ประโยชน์ของการผ่าตัด
• อาการเจ็บปวดและอาการปวดร้าวจะลดลง
กรณีของการกดทับไขสันหลัง (Myelopathy) เมื่อลดการกดทับ ไขสันหลังจะมีการฟื้นตัวส่งผลให้การทรงตัวอาจดีขึ้นได้
• หากมีอาการชาหรืออ่อนแรงจากการกดทับเส้นประสาท (Radiculopathy) อาการดังกล่าวอาจดีขึ้นกลับมาปกติหรือใกล้เคียงปกติได้
• นอนโรงพยาบาล เพียง 2-3 คืน และมีความเจ็บปวดจากการผ่าตัดน้อยมาก
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด
• กลืนลำบาก เสียงแหบ อาจพบในช่วงแรกภายหลังการผ่าตัด เนื่องจากมีการดึงรั้งหลอดอาหาร หลอดลม รวมถึงเส้นประสาทขณะผ่าตัด
• กระดูกไม่ติด ซึ่งความเสี่ยงนี้จะสูงขึ้นเมื่อผ่าตัดเชื่อมข้อหลายระดับ เช่น ผ่าตัดเชื่อมข้อ 3 ระดับก็จะมีความเสี่ยงกระดูกไม่ติดมากกว่าเชื่อมข้อ 1 ระดับ
• การเสื่อมสภาพของข้อที่อยู่ติดกับการเชื่อมข้อ (Adjacent Segment Disease) เมื่อเวลาผ่านไป ข้อกระดูกสันหลังที่อยู่ติดกับส่วนที่ผ่าตัดเชื่อมข้ออาจมีการเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
• ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดทั่วไป เช่น ติดเชื้อ ผลข้างเคียงจากยาดมสลบ
การผ่าตัด ACDF เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพได้ผลดี สำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีทานยาหรือกายภาพบำบัด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคกระดูกและข้อ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 30/04/2025
แพทย์ผู้เขียน
นพ. สุทธิพัฒน์ ไพโรจน์บริบูรณ์

ความถนัดเฉพาะทาง
ศัลยแพทย์ทางด้านโรคกระดูกและข้อ