การตรวจหินปูนแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจด้วยวิธี CT Calcium Score
เพราะโรคหัวใจมักไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า! การตรวจหินปูนแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจด้วยวิธี CT Calcium Score เป็นการตรวจคัดกรองช่วยให้รู้ทันความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ก่อนเกิดภาวะร้ายแรง เรามาทำความรู้จัก และเข้าใจการตรวจวิธีนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
หินปูนของหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการอักเสบในหลอดเลือดหัวใจซึ่งนำมาสู่คราบไขมันเกาะที่หลอดเลือดหัวใจ หากคราบไขมันนั้นเกาะเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมของหินปูนแคลเซียมตามมา ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการตรวจหินปูนของหลอดเลือดหัวใจด้วยวิธี CT Calcium Score ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย มีหลายการศึกษาบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่า Coronary Artery Calcium Score (CAC Score) และความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ โดยพบว่าหากค่า CAC Score สูง จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต นอกจากนี้ CAC Score ยังสามารถนำมาใช้ประกอบแนวทางประกอบการรักษาโรคไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วยบางรายได้
การตรวจปริมาณของหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจด้วย CT Calcium Score ทำได้โดยการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ฉายภาพที่ตำแหน่งของหัวใจเพื่อดูปริมาณของหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้สารทึบรังสี และใช้ระยะเวลาเพียง 10 – 15 นาที
ผลการตรวจจะบ่งบอกถึงปริมาณของหินปูนแคลเซียมที่เกาะอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยผลการตรวจจะแบ่งได้ ดังนี้
ปริมาณของหินปูนแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจยิ่งมีปริมาณมากก็จะแปลความถึงความเสี่ยง (Risk) ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามการที่มีหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจไม่ได้บ่งชี้ว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ การที่ผู้ป่วยมีค่าปริมาณหินปูนแคลเซียมสูงมากอาจจะไม่ได้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจก็ได้ หรือกรณีที่ผู้ป่วยที่ไม่มีหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจเลยก็ยังมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบฉับพลันได้ ถึงแม้ว่าโอกาสการเกิดจะน้อยกว่ามาก ดังนั้นปัจจุบันจึงแนะนำการตรวจนี้ในผู้ป่วยที่ต้องการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตอย่างแม่นยำมากขึ้น
แนะนำการตรวจ CT Calcium score ในผู้ป่วยกลุ่มต่อไปนี้
1. ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคหัวใจและมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดระดับปานกลาง
2. ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง และต้องการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างแม่นยำมากขึ้น โดยอาจจะใช้เพื่อพิจารณาในการตัดสินใจเริ่มหรือไม่เริ่มกลุ่มยาลดไขมัน โดยที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องไม่เคยมีประวัติสูบบุหรี่ ไม่ได้เป็นเบาหวาน ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดตั้งแต่อายุน้อย และค่าไขมันเลว (LDL) ในเลือดไม่เกิน 190 ในผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 นี้ หากค่าปริมาณระดับ CAC Score เท่ากับศูนย์ สามารถพิจารณายังไม่เริ่มยาลดไขมันและพิจารณาตรวจติดตาม CT Calcium Score ทุก 3 – 5 ปี
อย่างไรก็ตามไม่แนะนำการตรวจ CT Calcium Score ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว หรือในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหัวใจ เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่าย เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้พิจารณาปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกการตรวจที่เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ยังไม่แนะนำการตรวจ CT Calcium Score เพื่อใช้ในการตรวจติดตามปริมาณหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่กินยาลดไขมันจำพวก statin อยู่แล้ว
การตรวจปริมาณหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจจะเป็นการชี้ให้ผู้ป่วยเห็นถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดของตนเองในอนาคตว่าสูงหรือต่ำอย่างไร เพื่อนำไปสู่วิธีการป้องกันการเกิดโรคเฉพาะของตนเองอย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันคำแนะนำของการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต มีดังต่อไปนี้
• ออกกำลังกายระดับความเหนื่อยปานกลาง คือ เริ่มเหนื่อยแต่ยังสามารถพูดได้จนครบประโยคอยู่ โดยระยะเวลาการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 – 300 นาทีต่อสัปดาห์ และทำเป็นประจำสม่ำเสมอ
• ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ≥ 25 kg/m2 แนะนำลดน้ำหนักลง 5 – 10%
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับหัวใจหรือที่เรียกว่า “Mediterranean diet” ได้แก่ ลดอาหารที่มีไขมันไม่ดีสูง โดยเฉพาะไขมันทรานส์ (trans fat) พบได้มากในเนยขาว ครีมเทียม มาการีน เบเกอรี่ โดนัท และในอาหารจานด่วน เช่น เฟรนช์ฟรายส์ แฮมเบอเกอร์ เป็นต้น ลดการรับประทานเกลือ ลดการกินเนื้อแดงและเพิ่มการรับประทานเนื้อปลา รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น เน้นธัญพืชและถั่วต่างๆให้มากขึ้น เลือกใช้น้ำมันดีในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก เป็นต้น และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
• งดสูบบุหรี่รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า
• ลดสถานการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะเครียด
• การใช้ยาลดไขมันและกำหนดเป้าหมายของลดระดับไขมันที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล
กล่าวโดยสรุปการตรวจหินปูนแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจหรือ CT Calcium Score มีประโยชน์ในการบอกความเสี่ยง (risk) ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต โดยสามารถนำมาใช้ในประกอบการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดให้เหมาะกับแต่ละบุคคลได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
หินปูนของหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการอักเสบในหลอดเลือดหัวใจซึ่งนำมาสู่คราบไขมันเกาะที่หลอดเลือดหัวใจ หากคราบไขมันนั้นเกาะเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมของหินปูนแคลเซียมตามมา ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการตรวจหินปูนของหลอดเลือดหัวใจด้วยวิธี CT Calcium Score ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย มีหลายการศึกษาบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่า Coronary Artery Calcium Score (CAC Score) และความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ โดยพบว่าหากค่า CAC Score สูง จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงของอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต นอกจากนี้ CAC Score ยังสามารถนำมาใช้ประกอบแนวทางประกอบการรักษาโรคไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วยบางรายได้
การตรวจปริมาณของหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจด้วย CT Calcium Score ทำได้โดยการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ฉายภาพที่ตำแหน่งของหัวใจเพื่อดูปริมาณของหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้สารทึบรังสี และใช้ระยะเวลาเพียง 10 – 15 นาที
ผลการตรวจจะบ่งบอกถึงปริมาณของหินปูนแคลเซียมที่เกาะอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยผลการตรวจจะแบ่งได้ ดังนี้
Calcium Artery Score (CAC Score) | การแปลผล |
0 |
|
|
|
|
|
> 400 |
|
ปริมาณของหินปูนแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจยิ่งมีปริมาณมากก็จะแปลความถึงความเสี่ยง (Risk) ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามการที่มีหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจไม่ได้บ่งชี้ว่าเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ การที่ผู้ป่วยมีค่าปริมาณหินปูนแคลเซียมสูงมากอาจจะไม่ได้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจก็ได้ หรือกรณีที่ผู้ป่วยที่ไม่มีหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจเลยก็ยังมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบฉับพลันได้ ถึงแม้ว่าโอกาสการเกิดจะน้อยกว่ามาก ดังนั้นปัจจุบันจึงแนะนำการตรวจนี้ในผู้ป่วยที่ต้องการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตอย่างแม่นยำมากขึ้น
แนะนำการตรวจ CT Calcium score ในผู้ป่วยกลุ่มต่อไปนี้
1. ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคหัวใจและมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดระดับปานกลาง
2. ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง และต้องการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างแม่นยำมากขึ้น โดยอาจจะใช้เพื่อพิจารณาในการตัดสินใจเริ่มหรือไม่เริ่มกลุ่มยาลดไขมัน โดยที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องไม่เคยมีประวัติสูบบุหรี่ ไม่ได้เป็นเบาหวาน ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดตั้งแต่อายุน้อย และค่าไขมันเลว (LDL) ในเลือดไม่เกิน 190 ในผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 นี้ หากค่าปริมาณระดับ CAC Score เท่ากับศูนย์ สามารถพิจารณายังไม่เริ่มยาลดไขมันและพิจารณาตรวจติดตาม CT Calcium Score ทุก 3 – 5 ปี
อย่างไรก็ตามไม่แนะนำการตรวจ CT Calcium Score ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว หรือในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของโรคหัวใจ เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่าย เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้พิจารณาปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกการตรวจที่เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ยังไม่แนะนำการตรวจ CT Calcium Score เพื่อใช้ในการตรวจติดตามปริมาณหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่กินยาลดไขมันจำพวก statin อยู่แล้ว
การตรวจปริมาณหินปูนแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจจะเป็นการชี้ให้ผู้ป่วยเห็นถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดของตนเองในอนาคตว่าสูงหรือต่ำอย่างไร เพื่อนำไปสู่วิธีการป้องกันการเกิดโรคเฉพาะของตนเองอย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันคำแนะนำของการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต มีดังต่อไปนี้
• ออกกำลังกายระดับความเหนื่อยปานกลาง คือ เริ่มเหนื่อยแต่ยังสามารถพูดได้จนครบประโยคอยู่ โดยระยะเวลาการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 – 300 นาทีต่อสัปดาห์ และทำเป็นประจำสม่ำเสมอ
• ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ≥ 25 kg/m2 แนะนำลดน้ำหนักลง 5 – 10%
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับหัวใจหรือที่เรียกว่า “Mediterranean diet” ได้แก่ ลดอาหารที่มีไขมันไม่ดีสูง โดยเฉพาะไขมันทรานส์ (trans fat) พบได้มากในเนยขาว ครีมเทียม มาการีน เบเกอรี่ โดนัท และในอาหารจานด่วน เช่น เฟรนช์ฟรายส์ แฮมเบอเกอร์ เป็นต้น ลดการรับประทานเกลือ ลดการกินเนื้อแดงและเพิ่มการรับประทานเนื้อปลา รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น เน้นธัญพืชและถั่วต่างๆให้มากขึ้น เลือกใช้น้ำมันดีในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก เป็นต้น และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
• งดสูบบุหรี่รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า
• ลดสถานการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะเครียด
• การใช้ยาลดไขมันและกำหนดเป้าหมายของลดระดับไขมันที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล
กล่าวโดยสรุปการตรวจหินปูนแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจหรือ CT Calcium Score มีประโยชน์ในการบอกความเสี่ยง (risk) ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต โดยสามารถนำมาใช้ในประกอบการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดให้เหมาะกับแต่ละบุคคลได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 28/04/2025
แพทย์ผู้เขียน
นพ. ฉัตรเพชร มณีโศภิษฐ์

ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคหัวใจ