การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยสามารถช่วยยืนยันการวินิจฉัยและบอกตำแหน่งของรอยโรค บอกระดับความรุนแรงของโรค การพยากรณ์โรค ในกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อได้
การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (Electrodiagnosis) คืออะไร?
เป็นการตรวจประเมินความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค ติดตามการดำเนินโรค การตอบสนองต่อการรักษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือแพทย์ทางระบบประสาทที่ได้รับการฝึกอบรมการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย
การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยประกอบด้วย
• การตรวจการชักนำกระแสประสาท (Nerve Conduction Study: NCS) เป็นการตรวจโดยใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาท ลักษณะคล้ายถูกไฟช็อต แต่ไม่อันตราย เพื่อให้เกิดกระแสประสาทวิ่งไปตามเส้นประสาทแล้ววัดความเร็วในการวิ่งของเส้นประสาท หากมีความผิดปกติก็จะบอกได้ว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ช่วงใดของเส้นประสาทและมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด
• การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromygraphy: EMG) เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดจากการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ เป็นการตรวจที่ต้องใช้เข็มแทงเข้าไปที่กล้ามเนื้อ เข็มจะมีความลื่นและมีขนาดเล็ก จะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยคล้ายถูกฝังเข็ม ลักษณะของคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติจะช่วยแยกได้ว่าอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติที่ใด เป็นโรคของกล้ามเนื้อหรือของเส้นประสาทเส้นใด รากเส้นประสาทใด หรือผิดปกติที่เซลล์ประสาท
• การตรวจคลื่นไฟฟ้าที่ไขสันหลังและสมอง (Evoked Potential: EP) เป็นการกระตุ้นเส้นประสาทแขนขาทำให้เกิดกระแสประสาทวิ่งเข้าไปสู่ไขสันหลังและสมอง (Somatosensory Evoked Potential: SSEP) หรือกระตุ้นเส้นประสาทโดยใช้แสง (Visual Evoked Potential: VEP) หรือกระตุ้นเส้นประสาทหูโดยใช้เสียง (Brainstem Auditory Evoked Response: BAER)
• การตรวจวัดด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทซ้ำๆ (Repetitive Nerve Stimulation) เป็นการตรวจการทำงานของรอยต่อปลายประสาทและใยกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Junction) โดยการกระตุ้นเส้นประสาทซ้ำๆ
ประโยชน์ของการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย
• ช่วยในการแยกแยะว่าเป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท รากประสาท เซลล์ประสาทหรือจุดเชื่อมต่อระหว่างปลายประสาทและใยกล้ามเนื้อ
• บอกตำแหน่งของรอยโรค
• บอกระดับความรุนแรงของโรค
• บอกพยากรณ์โรค ดูความรุนแรงและการกระจายของโรค
• ใช้ติดตามผลการรักษา ดูการฟื้นคืนของเส้นประสาท
• ใช้ตรวจสอบระหว่างผ่าตัด เช่น ตรวจสอบการทำงานของไขสันหลังในระหว่างผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังคดเพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บต่อไขสันหลังในระหว่างการผ่าตัด ตรวจสอบเส้นประสาทในระหว่างการผ่าตัดเส้นประสาท เป็นต้น
ข้อควรระวังในการตรวจ
• ผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ต้องมีการตรวจเช็คเครื่องกระตุ้นหัวใจก่อนและหลังทำการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย
• ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรือรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ต้องปรึกษาเรื่องการหยุดยาก่อนทำการตรวจด้วยเข็มกับแพทย์เจ้าของไข้
• มีภาวะติดเชื้ออย่างมากที่บริเวณร่างกายที่ตรวจ
การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย หลังการตรวจอาจมีระบมบ้างจากการใช้เข็มตรวจในกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถลดปวดด้วยการประคบเย็นหรือรับประทานยาแก้ปวด
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
• แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าหลวมๆ
• ถอดเครื่องประดับ เช่น แหวน นาฬิกา สร้อยข้อมือ สร้อยคอ
• ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหาร
• ปิดโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนการทำงานของเครื่อง
• ผู้ที่ได้รับยารักษา Myasthenia Gravis (MG) ต้องหยุดยาก่อนตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
• ผู้ป่วยที่ตรวจคลื่นไฟฟ้าที่ไขสันหลังและสมอง (Evoked Potential) ต้องสระผมให้สะอาดและไม่ใส่เจลแต่ผมใดๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (Electrodiagnosis) คืออะไร?
เป็นการตรวจประเมินความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค ติดตามการดำเนินโรค การตอบสนองต่อการรักษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือแพทย์ทางระบบประสาทที่ได้รับการฝึกอบรมการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย
การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยประกอบด้วย
• การตรวจการชักนำกระแสประสาท (Nerve Conduction Study: NCS) เป็นการตรวจโดยใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาท ลักษณะคล้ายถูกไฟช็อต แต่ไม่อันตราย เพื่อให้เกิดกระแสประสาทวิ่งไปตามเส้นประสาทแล้ววัดความเร็วในการวิ่งของเส้นประสาท หากมีความผิดปกติก็จะบอกได้ว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ช่วงใดของเส้นประสาทและมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด
• การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromygraphy: EMG) เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดจากการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ เป็นการตรวจที่ต้องใช้เข็มแทงเข้าไปที่กล้ามเนื้อ เข็มจะมีความลื่นและมีขนาดเล็ก จะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยคล้ายถูกฝังเข็ม ลักษณะของคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติจะช่วยแยกได้ว่าอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติที่ใด เป็นโรคของกล้ามเนื้อหรือของเส้นประสาทเส้นใด รากเส้นประสาทใด หรือผิดปกติที่เซลล์ประสาท
• การตรวจคลื่นไฟฟ้าที่ไขสันหลังและสมอง (Evoked Potential: EP) เป็นการกระตุ้นเส้นประสาทแขนขาทำให้เกิดกระแสประสาทวิ่งเข้าไปสู่ไขสันหลังและสมอง (Somatosensory Evoked Potential: SSEP) หรือกระตุ้นเส้นประสาทโดยใช้แสง (Visual Evoked Potential: VEP) หรือกระตุ้นเส้นประสาทหูโดยใช้เสียง (Brainstem Auditory Evoked Response: BAER)
• การตรวจวัดด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทซ้ำๆ (Repetitive Nerve Stimulation) เป็นการตรวจการทำงานของรอยต่อปลายประสาทและใยกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Junction) โดยการกระตุ้นเส้นประสาทซ้ำๆ
ประโยชน์ของการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย
• ช่วยในการแยกแยะว่าเป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท รากประสาท เซลล์ประสาทหรือจุดเชื่อมต่อระหว่างปลายประสาทและใยกล้ามเนื้อ
• บอกตำแหน่งของรอยโรค
• บอกระดับความรุนแรงของโรค
• บอกพยากรณ์โรค ดูความรุนแรงและการกระจายของโรค
• ใช้ติดตามผลการรักษา ดูการฟื้นคืนของเส้นประสาท
• ใช้ตรวจสอบระหว่างผ่าตัด เช่น ตรวจสอบการทำงานของไขสันหลังในระหว่างผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังคดเพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บต่อไขสันหลังในระหว่างการผ่าตัด ตรวจสอบเส้นประสาทในระหว่างการผ่าตัดเส้นประสาท เป็นต้น
ข้อควรระวังในการตรวจ
• ผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ต้องมีการตรวจเช็คเครื่องกระตุ้นหัวใจก่อนและหลังทำการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย
• ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรือรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ต้องปรึกษาเรื่องการหยุดยาก่อนทำการตรวจด้วยเข็มกับแพทย์เจ้าของไข้
• มีภาวะติดเชื้ออย่างมากที่บริเวณร่างกายที่ตรวจ
การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย หลังการตรวจอาจมีระบมบ้างจากการใช้เข็มตรวจในกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถลดปวดด้วยการประคบเย็นหรือรับประทานยาแก้ปวด
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
• แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าหลวมๆ
• ถอดเครื่องประดับ เช่น แหวน นาฬิกา สร้อยข้อมือ สร้อยคอ
• ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหาร
• ปิดโทรศัพท์ หรือเครื่องมือสื่อสารเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนการทำงานของเครื่อง
• ผู้ที่ได้รับยารักษา Myasthenia Gravis (MG) ต้องหยุดยาก่อนตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
• ผู้ป่วยที่ตรวจคลื่นไฟฟ้าที่ไขสันหลังและสมอง (Evoked Potential) ต้องสระผมให้สะอาดและไม่ใส่เจลแต่ผมใดๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคระบบประสาท
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 25/09/2024
แพทย์ผู้เขียน
พญ. ภาณี สุธัมนาถพงษ์
ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบประสาท