• banner

รู้ทันโรคเท้าแบนในเด็ก

เท้าแบน เป็นภาวะที่เท้าไม่มีส่วนโค้งที่บริเวณอุ้งเท้า เมื่อยืนอุ้งเท้าจะแบนสัมผัสกับพื้น ซึ่งโรคนี้สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยปกติแล้วภาวะเท้าแบนมักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่ภาวะเท้าแบนอาจกลายเป็นปัญหาได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความรู้จักโรคนี้ไว้ เพื่อสังเกตอาการลูกน้อย

เท้าแบน คือ ภาวะไม่มีอุ้งเท้า เมื่อลองเอาเท้าแนบติดกับพื้น จะมองไม่เห็นส่วนโค้งเว้าใต้เท้า สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เด็ก ช่วงอายุประมาณ 6-8 ขวบ ส่วนใหญ่จะยังไม่มีอาการเจ็บปวด เพราะในวัยนี้ยังน้ำหนักตัวน้อย จึงทำให้ยังสามารถใช้งานเท้า เดิน วิ่ง เล่นได้เหมือนปกติ เนื่องจากเส้นเอ็นและกระดูกยังแข็งแรงอยู่ แต่เมื่อโตขึ้น บวกกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น อุ้งเท้าที่แบนอยู่แล้วก็เริ่มแสดงอาการชัดเจนขึ้น โดยจะรู้สึกเจ็บเมื่อใช้งานเยอะๆ หรือทำกิจกรรมที่ลงน้ำหนักเท้ามากๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ใช้เท้าได้อย่างปกติ ต้องหยุดพักบ่อย

ภาวะเท้าแบน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
• เท้าแบนแบบยืดหยุ่น เป็นชนิดของโรคเท้าแบนที่พบได้มากที่สุด สาเหตุหลักเกิดจากเอ็นอุ้งเท้าเสื่อมสภาพ จนไม่สามารถยกอุ้งเท้าไว้ได้ จึงเกิดอักเสบและทำให้รู้สึกเจ็บปวด
• เท้าแบนแบบติดแข็ง พบได้น้อยกว่าแบบยืดหยุ่น สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของกระดูกและข้อภายในเท้าตั้งแต่กำเนิด เช่น มีกระดูกบางตำแหน่งเชื่อมกันอยู่อย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเท้าแบนผิดรูป

การรักษา
    ภาวะเท้าแบนไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่ถ้าผู้ป่วยรู้สึกเจ็บจากภาวะดังกล่าว ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ ซึ่งวิธีรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้ 
    • ฝึกเพิ่มความยืดหยุ่นเอ็นรอบข้อเท้าเพื่อป้องการการเกิดอาการปวด หรือล้า
    • ใส่อุปกรณ์พยุงข้อเท้า หรือเท้าเพื่อปรับรูปเท้าขณะที่สวมอุปกรณ์จะทำให้อาการเบาลง
    • กินยาแก้ปวด ฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบ ผู้ป่วยที่เกิดอาการเจ็บเท้าเรื้อรังและเท้าอักเสบ จะได้รับยาต้านอักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดบวม
    • การผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ  แพทย์จะพิจารณาทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อยืดเอ็นและลดอาการเจ็บปวดที่เท้า
    
โรคเท้าแบนแม้ไม่ใช่โรคร้าย แต่หากปล่อยไว้ก็จะทำลายคุณภาพในการใช้ชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตรูปเท้าของลูกตั้งแต่เด็กๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หากพบว่ารูปเท้าผิดรูป แบนผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคกระดูกและข้อ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 23/04/2024

แพ็กเกจอื่นๆ