รู้ก่อน รอดก่อน ตรวจตับปีละครั้ง สำคัญกว่าที่คิด
"ตับ" คืออวัยวะเงียบที่ทำหน้าที่สำคัญหลากหลายอย่างในร่างกาย ตั้งแต่การเผาผลาญสารอาหาร ขจัดสารพิษ ไปจนถึงสร้างน้ำดีและโปรตีนที่จำเป็น แต่ในขณะเดียวกัน "โรคตับ" ก็มักจะไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะแรก กว่าจะรู้ตัวอีกที อาจลุกลามจนยากต่อการรักษาแล้ว ดังนั้น การตรวจสุขภาพตับอย่างน้อยปีละครั้ง จึงเป็นทางเลือกสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อค้นหาความผิดปกติก่อนที่ร่างกายจะส่งสัญญาณเตือน
ทำไมต้องตรวจตับ?
การตรวจสุขภาพตับมีอะไรบ้าง?
การตรวจสุขภาพตับมีหลายวิธี โดยแพทย์จะเลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ดังนี้
• ตรวจเลือดประเมินการทำงานของตับ การตรวจเลือดเป็นวิธีพื้นฐานที่นิยมใช้มากที่สุด เช่น
◦ ตรวจเอนไซม์ AST (SGOT) และ ALT (SGPT) หากค่าสูงกว่าปกติอาจบ่งชี้ถึงความเสียหายของเซลล์ตับ เช่น ตับอักเสบ
◦ ตรวจค่า ALP, Total/Direct Bilirubin, Albumin, Globulin เพื่อประเมินการทำงานและสุขภาพโดยรวมของตับ
◦ ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) และซี (Anti-HCV) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับเรื้อรัง
• ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) การตรวจหา Alpha-fetoprotein (AFP) ในเลือด ช่วยประเมินความเสี่ยงมะเร็งตับ โดย AFP จะสูงผิดปกติในผู้ป่วยมะเร็งตับประมาณ 40%
• อัลตราซาวด์ช่องท้อง ใช้คลื่นเสียงเพื่อตรวจดูโครงสร้างของตับและอวัยวะข้างเคียง สามารถตรวจพบก้อนเนื้อหรือความผิดปกติในตับได้โดยไม่เจ็บตัว
• Fibro Scan เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้คลื่นเสียงวัดความแข็งและปริมาณไขมันในตับ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงตับแข็ง ไขมันพอกตับ หรือภาวะตับเสื่อม ตรวจง่าย ไม่เจ็บตัว ทราบผลเร็ว
• การตรวจอื่นๆ ตามดุลยพินิจแพทย์ เช่น CT Scan, MRI, HIDA Scan, ERCP, MRCP สำหรับกรณีที่สงสัยโรคตับชนิดเฉพาะหรือกรณีที่ผลตรวจพื้นฐานผิดปกติ
ใครบ้างที่ควรตรวจสุขภาพตับเป็นประจำ?
ตรวจตับ… ไม่เจ็บ ไม่ยุ่งยาก แต่ช่วยชีวิตได้
หลายคนอาจกลัวคำว่า "ตรวจสุขภาพ" เพราะคิดว่าจะยุ่งยาก เสียเวลา หรือเจ็บตัว แต่ความจริงแล้ว การตรวจตับส่วนใหญ่อาศัยเพียงการเจาะเลือด และอัลตราซาวด์ ซึ่งไม่เจ็บและใช้เวลาไม่นาน ที่สำคัญคือ ได้รู้เร็วและรับมือได้ทันก่อนโรคร้ายจะคุกคามชีวิต
การตรวจสุขภาพตับไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะโรคตับมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะรุนแรง การตรวจเช็กเป็นประจำจึงเปรียบเสมือนการติดอาวุธให้กับสุขภาพ ช่วยให้รู้เท่าทันโรค ป้องกันได้ก่อนลุกลาม และเพิ่มโอกาสในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ทำไมต้องตรวจตับ?
- ตับไม่ส่งเสียงเตือน
- ไขมันพอกตับ: โรคเงียบของคนรุ่นใหม่
- ตับอักเสบจากไวรัสหรือแอลกอฮอล์
- ตรวจเจอเร็ว = รักษาได้ทัน
การตรวจสุขภาพตับมีอะไรบ้าง?
การตรวจสุขภาพตับมีหลายวิธี โดยแพทย์จะเลือกใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ดังนี้
• ตรวจเลือดประเมินการทำงานของตับ การตรวจเลือดเป็นวิธีพื้นฐานที่นิยมใช้มากที่สุด เช่น
◦ ตรวจเอนไซม์ AST (SGOT) และ ALT (SGPT) หากค่าสูงกว่าปกติอาจบ่งชี้ถึงความเสียหายของเซลล์ตับ เช่น ตับอักเสบ
◦ ตรวจค่า ALP, Total/Direct Bilirubin, Albumin, Globulin เพื่อประเมินการทำงานและสุขภาพโดยรวมของตับ
◦ ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) และซี (Anti-HCV) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับเรื้อรัง
• ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) การตรวจหา Alpha-fetoprotein (AFP) ในเลือด ช่วยประเมินความเสี่ยงมะเร็งตับ โดย AFP จะสูงผิดปกติในผู้ป่วยมะเร็งตับประมาณ 40%
• อัลตราซาวด์ช่องท้อง ใช้คลื่นเสียงเพื่อตรวจดูโครงสร้างของตับและอวัยวะข้างเคียง สามารถตรวจพบก้อนเนื้อหรือความผิดปกติในตับได้โดยไม่เจ็บตัว
• Fibro Scan เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้คลื่นเสียงวัดความแข็งและปริมาณไขมันในตับ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงตับแข็ง ไขมันพอกตับ หรือภาวะตับเสื่อม ตรวจง่าย ไม่เจ็บตัว ทราบผลเร็ว
• การตรวจอื่นๆ ตามดุลยพินิจแพทย์ เช่น CT Scan, MRI, HIDA Scan, ERCP, MRCP สำหรับกรณีที่สงสัยโรคตับชนิดเฉพาะหรือกรณีที่ผลตรวจพื้นฐานผิดปกติ
ใครบ้างที่ควรตรวจสุขภาพตับเป็นประจำ?
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรือไขมันในเลือดสูง
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้ที่มีประวัติตับอักเสบในครอบครัว
- ผู้ที่รับประทานยาหรือสมุนไพรบางชนิดต่อเนื่อง
- ผู้ที่ไม่เคยตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ
ตรวจตับ… ไม่เจ็บ ไม่ยุ่งยาก แต่ช่วยชีวิตได้
หลายคนอาจกลัวคำว่า "ตรวจสุขภาพ" เพราะคิดว่าจะยุ่งยาก เสียเวลา หรือเจ็บตัว แต่ความจริงแล้ว การตรวจตับส่วนใหญ่อาศัยเพียงการเจาะเลือด และอัลตราซาวด์ ซึ่งไม่เจ็บและใช้เวลาไม่นาน ที่สำคัญคือ ได้รู้เร็วและรับมือได้ทันก่อนโรคร้ายจะคุกคามชีวิต
การตรวจสุขภาพตับไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะโรคตับมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะรุนแรง การตรวจเช็กเป็นประจำจึงเปรียบเสมือนการติดอาวุธให้กับสุขภาพ ช่วยให้รู้เท่าทันโรค ป้องกันได้ก่อนลุกลาม และเพิ่มโอกาสในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 09/07/2025
แพทย์ผู้เขียน
นพ. ภูริกร เฟื่องวรรธนะ

ความถนัดเฉพาะทาง
แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินอาหาร