ไขข้อสงสัย ทำไมลูกตัวเตี้ย
ภาวะเตี้ยในเด็ก เป็นปัญหาสำคัญด้านการเจริญเติบโต และอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลกลัวว่าลูกจะไม่สูงตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งปัญหานี้อาจส่งผลกระทบในด้านต่างๆ และทำให้เกิดความไม่มั่นใจให้กับลูกน้อยได้ หากสงสัยว่าลูกจะเข้าข่ายภาวะดังกล่าว ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อ เพื่อตรวจหาสาเหตุ สำหรับแนวทางการรักษาอย่างเหมาะสม
ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่สนใจเรื่องความสูงของลูกมากขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและสื่อมวลชนเป็นตัวกระตุ้น คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกตัวเตี้ยกว่าเด็กคนอื่นๆ ที่อยู่ในวัยเดียวกัน มักจะเกิดความกังวลว่าลูกเราผิดปกติหรือไม่ ลูกเราจะสูงเท่ากับเด็กคนอื่นไหม ส่วนเด็กที่ “ตัวเตี้ย” ก็อาจเกิดความคิดว่าเขาผิดปกติไม่เหมือนกับเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน ซึ่งปัญหานี้โดยส่วนมากเกิดกับเด็กวัยรุ่นที่มีการเปรียบเทียบกับเพื่อนหรือกลัวถูกเพื่อนล้อ
คำจำกัดความของคำว่า “ตัวเตี้ย”
คำว่าตัวเตี้ย (short stature) คือ ภาวะที่ส่วนสูงที่วัดได้มีค่าน้อยกว่าปกติของเพศและอายุนั้นๆ (น้อยกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 3)
สาเหตุของตัวเตี้ย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.ตัวเตี้ยแบบปกติ
เด็กตัวเตี้ยก็จริงแต่แข็งแรงดีไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่น่าเป็นห่วง กลุ่มนี้พบได้ประมาณร้อยละ 60 ของเด็กที่มาปรึกษาแพทย์ด้วยเรื่องตัวเตี้ย แบ่งเป็น
• ตัวเตี้ยเนื่องจากพันธุกรรม (Familial short stature) เด็กจะมีความสูงสัมพันธ์กับความสูงของพ่อแม่ กล่าวคือพ่อและหรือแม่ตัวเตี้ย ลูกจึงตัวเตี้ย นั่นคือพันธุกรรมเป็นปัจจัยในการกำหนดความสูงนั่นเอง เด็กกลุ่มนี้ถึงจะเตี้ยแต่อัตราการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
• ตัวเตี้ยในลักษณะเป็น “ม้าตีนปลาย” (Constitutional delayed growth and puberty = CDGP) เด็กจะเจริญเติบโตตามเกณฑ์ปกติตั้งแต่แรกเกิด แต่พอช่วงอายุประมาณ 2 ขวบ ก็เริ่มดูเหมือนจะเติบโตช้าลง (cross percentile) หลังจากนั้นก็จะเติบโตต่อไปด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่ปกติประมาณ 5 เซนติเมตร/ปี และเขาจะเป็นหนุ่มหรือสาวช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกัน เมื่อเพื่อนคนอื่นหยุดสูงเนื่องจากกระดูกปิดแล้ว เด็กกลุ่มนี้จะยังมีเวลาเติบโตต่อไปได้อีก 2-3 ปี เนื่องจากอายุกระดูกช้ากว่าเพื่อน คุณพ่อหรือคุณแม่มักมีประวัติเป็นหนุ่มหรือเป็นสาวช้ากว่าปกติ (คุณพ่ออาจจะเริ่มเสียงแตกช้าหรือคุณแม่มีประจำเดือนครั้งแรกช้า เป็นต้น)
ถ้าเด็กตัวเตี้ยแบบปกติ คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้ว่าลูกแข็งแรงไม่ได้เป็นโรคอะไร แต่เอาเข้าจริงๆ แม้แพทย์จะให้ความมั่นใจแล้ว ผู้ปกครองและเด็กก็มักมีความกังวลอยู่ดี ท่าทีของคุณพ่อคุณแม่ต่อลูกมีความสำคัญมาก เพราะเด็กจะสังเกตและจดจำท่าทีต่างๆ เสมอ ถ้าผู้ปกครองไม่แสดงความกังวลเกินไปว่าความเตี้ยเป็นจุดบกพร่อง และอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงธรรมชาติของการเจริญเติบโตที่ปกติ เด็กจะลดความเครียดไปได้มาก คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องเตี้ยมาให้ความสนใจและส่งเสริมลูกในด้านอื่นๆ ให้คำชมและแสดงความภูมิใจ เมื่อลูกทำความดี เรียนหนังสือดี เป็นคนดีของสังคม
2.ตัวเตี้ยแบบผิดปกติ
เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้ตัวเตี้ยอย่างเดียว แต่จะ “โตช้า” ด้วย เส้นกราฟการเจริญเติบโตแทนที่จะขนานกับเส้นปกติ กลับเบี่ยงเบนต่ำลงเรื่อยๆ พูดง่ายๆ คือ อัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่าปกติ (น้อยกว่า 5 เซนติเมตร/ปี) สาเหตุที่สำคัญ มีดังนี้
• ภาวะโภชนาการไม่ดี มักมีปัญหากินไม่พอ แคลอรี่น้อย เด็กกลุ่มนี้มักไม่แค่ตัวเตี้ย แต่ยังผอมอีกด้วย ถ้าได้รับสารอาหารเพียงพอ การเจริญเติบโตก็จะดีขึ้น
• มารดามีปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น มารดาสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา
• ความผิดปกติของกระดูก เด็กกลุ่มนี้จะเตี้ยไม่สมส่วน เช่น แขนขาสั้น
• รหัสพันธุกรรมผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome)
• โรคของระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคทางเดินอาหาร โรคไต โรคเลือด มักมีอาการและอาการแสดงอย่างอื่นที่บ่งชี้ว่ามีความผิดปกติร่วมด้วย
• เด็กที่ถูกเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีต่อจิตใจ (Psychosocial short stature)
• ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ภาวะคอร์ติซอลเกิน ความผิดปกติของฮอร์โมนที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด
การรักษาเด็กที่ตัวเตี้ยแบบผิดปกติ
การรักษาจะเน้นไปที่การแก้สาเหตุเฉพาะ ส่วนการรักษาด้วยฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) มีข้อบ่งชี้ในเด็กที่ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ผู้ป่วย Turner syndrome และผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตนี้อยู่ในรูปของยาฉีด ที่จะต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุกวัน ก่อนนอน
การที่เด็กจะเจริญเติบโตได้ดีนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ได้แก่ กรรมพันธุ์ การได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่เหมาะสม การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ การพักผ่อนที่เพียงพอ และการที่เด็กได้รับการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรมุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพให้บุตรหลานในสิ่งเหล่านี้ อย่างไรก็ตามถ้าคุณพ่อคุณแม่มีความสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าบุตรอาจมีภาวะตัวเตี้ยที่ผิดปกติ สามารถรับคำปรึกษาจากกุมารแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อได้และควรนำประวัติน้ำหนักและส่วนสูงในอดีตที่อายุต่างๆ มาให้แพทย์ใช้เป็นข้อมูลในการวินิจฉัย นอกจากนี้ เด็กควรได้รับการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงเวลาไปตรวจสุขภาพ อย่างน้อยทุก 6-12 เดือน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่สนใจเรื่องความสูงของลูกมากขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและสื่อมวลชนเป็นตัวกระตุ้น คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกตัวเตี้ยกว่าเด็กคนอื่นๆ ที่อยู่ในวัยเดียวกัน มักจะเกิดความกังวลว่าลูกเราผิดปกติหรือไม่ ลูกเราจะสูงเท่ากับเด็กคนอื่นไหม ส่วนเด็กที่ “ตัวเตี้ย” ก็อาจเกิดความคิดว่าเขาผิดปกติไม่เหมือนกับเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน ซึ่งปัญหานี้โดยส่วนมากเกิดกับเด็กวัยรุ่นที่มีการเปรียบเทียบกับเพื่อนหรือกลัวถูกเพื่อนล้อ
คำจำกัดความของคำว่า “ตัวเตี้ย”
คำว่าตัวเตี้ย (short stature) คือ ภาวะที่ส่วนสูงที่วัดได้มีค่าน้อยกว่าปกติของเพศและอายุนั้นๆ (น้อยกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 3)
สาเหตุของตัวเตี้ย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.ตัวเตี้ยแบบปกติ
เด็กตัวเตี้ยก็จริงแต่แข็งแรงดีไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่น่าเป็นห่วง กลุ่มนี้พบได้ประมาณร้อยละ 60 ของเด็กที่มาปรึกษาแพทย์ด้วยเรื่องตัวเตี้ย แบ่งเป็น
• ตัวเตี้ยเนื่องจากพันธุกรรม (Familial short stature) เด็กจะมีความสูงสัมพันธ์กับความสูงของพ่อแม่ กล่าวคือพ่อและหรือแม่ตัวเตี้ย ลูกจึงตัวเตี้ย นั่นคือพันธุกรรมเป็นปัจจัยในการกำหนดความสูงนั่นเอง เด็กกลุ่มนี้ถึงจะเตี้ยแต่อัตราการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
• ตัวเตี้ยในลักษณะเป็น “ม้าตีนปลาย” (Constitutional delayed growth and puberty = CDGP) เด็กจะเจริญเติบโตตามเกณฑ์ปกติตั้งแต่แรกเกิด แต่พอช่วงอายุประมาณ 2 ขวบ ก็เริ่มดูเหมือนจะเติบโตช้าลง (cross percentile) หลังจากนั้นก็จะเติบโตต่อไปด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่ปกติประมาณ 5 เซนติเมตร/ปี และเขาจะเป็นหนุ่มหรือสาวช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกัน เมื่อเพื่อนคนอื่นหยุดสูงเนื่องจากกระดูกปิดแล้ว เด็กกลุ่มนี้จะยังมีเวลาเติบโตต่อไปได้อีก 2-3 ปี เนื่องจากอายุกระดูกช้ากว่าเพื่อน คุณพ่อหรือคุณแม่มักมีประวัติเป็นหนุ่มหรือเป็นสาวช้ากว่าปกติ (คุณพ่ออาจจะเริ่มเสียงแตกช้าหรือคุณแม่มีประจำเดือนครั้งแรกช้า เป็นต้น)
ถ้าเด็กตัวเตี้ยแบบปกติ คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้ว่าลูกแข็งแรงไม่ได้เป็นโรคอะไร แต่เอาเข้าจริงๆ แม้แพทย์จะให้ความมั่นใจแล้ว ผู้ปกครองและเด็กก็มักมีความกังวลอยู่ดี ท่าทีของคุณพ่อคุณแม่ต่อลูกมีความสำคัญมาก เพราะเด็กจะสังเกตและจดจำท่าทีต่างๆ เสมอ ถ้าผู้ปกครองไม่แสดงความกังวลเกินไปว่าความเตี้ยเป็นจุดบกพร่อง และอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงธรรมชาติของการเจริญเติบโตที่ปกติ เด็กจะลดความเครียดไปได้มาก คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องเตี้ยมาให้ความสนใจและส่งเสริมลูกในด้านอื่นๆ ให้คำชมและแสดงความภูมิใจ เมื่อลูกทำความดี เรียนหนังสือดี เป็นคนดีของสังคม
2.ตัวเตี้ยแบบผิดปกติ
เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้ตัวเตี้ยอย่างเดียว แต่จะ “โตช้า” ด้วย เส้นกราฟการเจริญเติบโตแทนที่จะขนานกับเส้นปกติ กลับเบี่ยงเบนต่ำลงเรื่อยๆ พูดง่ายๆ คือ อัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่าปกติ (น้อยกว่า 5 เซนติเมตร/ปี) สาเหตุที่สำคัญ มีดังนี้
• ภาวะโภชนาการไม่ดี มักมีปัญหากินไม่พอ แคลอรี่น้อย เด็กกลุ่มนี้มักไม่แค่ตัวเตี้ย แต่ยังผอมอีกด้วย ถ้าได้รับสารอาหารเพียงพอ การเจริญเติบโตก็จะดีขึ้น
• มารดามีปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น มารดาสูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา
• ความผิดปกติของกระดูก เด็กกลุ่มนี้จะเตี้ยไม่สมส่วน เช่น แขนขาสั้น
• รหัสพันธุกรรมผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome)
• โรคของระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคทางเดินอาหาร โรคไต โรคเลือด มักมีอาการและอาการแสดงอย่างอื่นที่บ่งชี้ว่ามีความผิดปกติร่วมด้วย
• เด็กที่ถูกเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีต่อจิตใจ (Psychosocial short stature)
• ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ภาวะคอร์ติซอลเกิน ความผิดปกติของฮอร์โมนที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด
การรักษาเด็กที่ตัวเตี้ยแบบผิดปกติ
การรักษาจะเน้นไปที่การแก้สาเหตุเฉพาะ ส่วนการรักษาด้วยฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) มีข้อบ่งชี้ในเด็กที่ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ผู้ป่วย Turner syndrome และผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งฮอร์โมนการเจริญเติบโตนี้อยู่ในรูปของยาฉีด ที่จะต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุกวัน ก่อนนอน
การที่เด็กจะเจริญเติบโตได้ดีนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ได้แก่ กรรมพันธุ์ การได้รับสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่เหมาะสม การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ การพักผ่อนที่เพียงพอ และการที่เด็กได้รับการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรมุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพให้บุตรหลานในสิ่งเหล่านี้ อย่างไรก็ตามถ้าคุณพ่อคุณแม่มีความสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าบุตรอาจมีภาวะตัวเตี้ยที่ผิดปกติ สามารถรับคำปรึกษาจากกุมารแพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อได้และควรนำประวัติน้ำหนักและส่วนสูงในอดีตที่อายุต่างๆ มาให้แพทย์ใช้เป็นข้อมูลในการวินิจฉัย นอกจากนี้ เด็กควรได้รับการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงเวลาไปตรวจสุขภาพ อย่างน้อยทุก 6-12 เดือน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777
ศูนย์รักษา: ศูนย์เด็กและการพัฒนาการเด็ก
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 26/09/2024
แพทย์ผู้เขียน
พญ. ไพรัลยา นาควัชระ
ความถนัดเฉพาะทาง
กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม