• banner

ใช้ยาฮอร์โมนทดแทนวัยทอง 5 ปี มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ ?

คุณผู้หญิงทราบกันหรือไม่คะว่า การใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อลดอาการร้อนวูบวาบในช่วงวัยหมดประจำเดือน เป็นเวลานานๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้ ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร เรามีคำตอบมาบอกค่ะ

ยาฮอร์โมนทดแทนวัยหมดประจำเดือนหรือที่เรียกกันว่า “วัยทอง” เป็นยาฮอร์โมนที่บรรจุหรือสังเคราะห์เลียนแบบฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน (Estrogen) เพื่อออกฤทธิ์ทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ร่างกายผลิตตามธรรมชาติจากรังไข่ ซึ่งกำลังจะหมดไปเนื่องจากรังไข่จะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนนี้ได้แล้วเมื่อเข้าสู่วัยทอง นอกจากนี้ในผู้ป่วยรายที่ได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนและยังมีมดลูกอยู่ แพทย์จำเป็นจะต้องให้ยาฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน(Progesterone) ควบคู่กันไปด้วยเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งอาจจะเกิดได้หากได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป

ปัจจุบันยาฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนมีอยู่ 3 รูปแบบ  คือ
  • แบบเจลทาให้ดูดซึมผ่านผิวหนัง
  • แบบแผ่นแปะให้ดูดซึมผ่านผิวหนัง
  • แบบรับประทาน

ส่วนยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมี 2 รูปแบบ คือ
  • แบบรับประทาน
  • แบบสอดช่องคลอด

นอกจากนี้ยังมียาฮอร์โมนทดแทนแบบรับประทานที่มีฮอรโทนทั้งสองชนิดอยู่ในเม็ดเดียวกันทำให้ง่ายต่อการใช้อีกด้วย แต่ยาฮอร์โมนแต่ละชนิดและรูปแบบก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป หากคิดว่าจำเป็นต้องใช้ยาควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

กินยาคุมนานๆ มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้จริงหรือไม่ การใช้ยาฮอร์โมนทดแทนวัยทองติดต่อกันเป็นเวลานานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้จริง โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ติดต่อกันนานกว่า 5 ปี หรือใช้หลังอายุ 60 ปี ดังนั้นก่อนเริ่มใช้ยาหรือระหว่างที่ใช้ยาควรจะต้องได้รับการตรวจคลำเต้านมโดยแพทย์ หรือตรวจด้วยการทำแมมโมแกรมอย่างสม่ำเสมอและระหว่างที่ใช้ยาฮอร์โมนจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดค่ะ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 0 2265 7777 
ศูนย์รักษา: ศูนย์สุขภาพสตรี
วัน/เดือน/ปี ที่โพสต์: 10/08/2021

แพ็กเกจอื่นๆ